วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

สังคม O-net 1 มนุษย์กับสังคม

มนุษย์กับสังคม
มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในสังคม สัตว์ในสังคมมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. สัตว์โลก ชอบอยู่โดดเดี่ยว ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน
2. สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนอาศัยพึ่งพากันมนุษย์จัดอยู่ในสังคมชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนและแตกต่างจากสัตว์สังคมชนิดอื่นๆ เช่น พวกมดผึ้งปลวก ลิง ช้าง เป็นต้น สิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นและทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง คือ มนุษย์มีวัฒนธรรม ส่วนสัตว์มีสัญชาตญาณ


วัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตหรือแบบแผนของพฤติกรรมในสังคม ซึ่งสมาชิกในสังคมนั้นได้ปฏิบัติถ่ายทอด
สืบกันมาตามแนวความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ความรู้สึก และสิ่งประดิษฐ์เพื่อความเจริญ
งอกงาม หรืออาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม
ในวิถีชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมมิใช่สิ่งที่ดีงามสำหรับคนทั่วไป แต่ต้องเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม


ลักษณะที่สำคัญของวัฒนธรรม
1. เป็นวิถีทางในการดำเนินชิวิตของมนุษย์
2. เป็นสิ่งที่ได้มาจากการเรียนรู้
3. เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้
4. เป็นสิ่งที่ดีงามของสังคมนั้น
5. เป็นมรดกของสังคม


ประเภทของวัฒนธรรม
โดยทั่วไปวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Anlture)
2. วัฒนธรรมทางจิตใจหรือวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Nomaterial Anlture)
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 นั้น แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. คติธรรม วัฒนธรรมเกี่ยวกับศาสนา
2. เนติธรรม วัฒนธรรมทางกฎหมาย
3. วัตถุธรรม วัฒนธรรมทางวัตถุ
4. สหธรรม วัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตทั่วๆ ไป


ถ้าเราแบ่งวัฒนธรรมตามขนาดของสังคม วัฒนธรรมจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ วัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อย
วัฒนธรรมหลัก หมายถึง วัฒนธรรมของสังคมใหญ่ สังคมใหญ่เป็นสังคมที่ประกอบด้วยสังคมย่อยๆ
หลายสังคม
วัฒนธรรมย่อย หมายถึง รูปแบบพฤติกรรมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของ
ตนเอง


ความสำคัญของวัฒนธรรม
1. เป็นสิ่งกำหนดรูปแบบของสถาบันซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละสังคม
2. เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์
3. เป็นเครื่องควบคุมให้สังคมเป็นระเบียบได้
4. เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
หน้าที่ของวัฒนธรรม
1. สามารถสนองความต้องการต่างๆ ทางร่างกายได้ครบถ้วน
2. เพื่อสร้างอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ มาชดเชยขีดจำกัดทางชีววิทยาของมนุษย์ที่ไม่มีพละกำลัง
ความแข็งแกร่งเหมือนสัตว์ ทั้งนี้เพื่อปกป้องชีวิตของตนเองและเพื่อความอยู่รอดของสังคม
3. เป็นเครื่องมือในการควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
นอกจากเรื่องวัฒนธรรมทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์อย่างแท้จริงแล้ว มนุษย์ยังต้องอยู่ในสังคม



สังคม
สังคม หมายถึง กลุ่มคนขนาดใหญ่ที่อยู่รวมกันโดยกลุ่มนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีการจัดระเบียบ
ในการอยู่ร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม นอกจากนี้สมาชิกยังมี
วิถีชีวิตในรูปแบบเดียวกัน มีความผูกพันกัน และมีวัตถุประสงค์ในการเข้ามาอยู่รวมกลุ่มเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน
องค์ประกอบที่สำคัญของสังคม คือ
1. กลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย
2. ความสัมพันธ์ของคนในสังคม
3. มีดินแดนที่เป็นหลักแหล่งแน่นอน
4. มีวิถีทางในการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมร่วมกัน
5. มีความยาวนานในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเรียกว่า เป็นความมั่นคงถาวร


การที่มนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะมนุษย์ต้องการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของตน คือ
- ความต้องการทางชีวภาพ คือ ความต้องการในสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตรอดของมนุษย์ ส่วนมากจะ
คล้ายคลึงกับสัตว์อื่น เช่น ต้องการอากาศ เป็นต้น
- ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการสิ่งต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เช่น
ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
- ความต้องการทางจิตวิทยา เป็นความต้องการทางจิตใจ เช่น ต้องการให้คนรักตน
- ความต้องการทางสังคม คือ การต้องการจะติดต่อกับคนอื่น



สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม (Social institution) หมายถึง วิถีทางปฏิบัติที่มีระเบียบแบบแผน เป็นระบบซึ่งถูกจัดขึ้น
และมีความมั่นคงถาวรเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการตอบสนองความจำเป็นด้านต่างๆ ของสังคมหรืออาจกล่าวได้ว่า
สถาบันสังคม หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของสังคม สำหรับเป็นแนวในการปฏิบัติหรือติดต่อระหว่างกัน
และในการทำหน้าที่สนองความต้องการและความจำเป็นของสังคม กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนนี้มักจัดไว้เป็น
หมวดหมู่ ตามประเภทของความต้องการที่จำเป็นของสังคม ซึ่งสถาบันสังคมที่สำคัญ คือ
1. สถาบันครอบครัว
2. สถาบันการปกครอง
3. สถาบันเศรษฐกิจ
4. สถาบันการศึกษา
5. สถาบันศาสนา
6. สถาบันนันทนาการ
7. สถาบันสื่อสารมวลชน

การที่มนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะมนุษย์ต้องการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของตน คือ
- ความต้องการทางชีวภาพ คือ ความต้องการในสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตรอดของมนุษย์ ส่วนมากจะ
คล้ายคลึงกับสัตว์อื่น เช่น ต้องการอากาศ เป็นต้น
- ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการสิ่งต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เช่น
ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
- ความต้องการทางจิตวิทยา เป็นความต้องการทางจิตใจ เช่น ต้องการให้คนรักตน
- ความต้องการทางสังคม คือ การต้องการจะติดต่อกับคนอื่น


สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม (Social institution) หมายถึง วิถีทางปฏิบัติที่มีระเบียบแบบแผน เป็นระบบซึ่งถูกจัดขึ้น
และมีความมั่นคงถาวรเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการตอบสนองความจำเป็นด้านต่างๆ ของสังคมหรืออาจกล่าวได้ว่า
สถาบันสังคม หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของสังคม สำหรับเป็นแนวในการปฏิบัติหรือติดต่อระหว่างกัน
และในการทำหน้าที่สนองความต้องการและความจำเป็นของสังคม กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนนี้มักจัดไว้เป็น
หมวดหมู่ ตามประเภทของความต้องการที่จำเป็นของสังคม ซึ่งสถาบันสังคมที่สำคัญ คือ
1. สถาบันครอบครัว
2. สถาบันการปกครอง
3. สถาบันเศรษฐกิจ
4. สถาบันการศึกษา
5. สถาบันศาสนา
6. สถาบันนันทนาการ
7. สถาบันสื่อสารมวลชน
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันสังคมที่เก่าแก่และเป็นรากฐานของระบบสังคมทั้งหลายเป็นสถาบันที่มีความ
คงทนที่สุดที่ทุกสังคมมนุษย์จะต้องมีสถาบันนี้
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว
1. สร้างสรรค์สมาชิกใหม่เพื่อการดำรงอยู่ของสังคมเป็นการทดแทนสมาชิกเก่าที่ตายไป
2. บำบัดความต้องการทางเพศ
3. เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโตในสังคม
4. ให้การอบรมสั่งสอนแก่เด็กให้รู้จักระเบียบของสังคม
5. กำหนดสถานภาพแก่สมาชิก
6. ให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิก

สถาบันเศรษฐกิจ เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภค
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
1. บำบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ
2. ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
3. พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ

สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมาย
ที่สำคัญที่จะให้สมาชิกของสังคมมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม มีวัฒนธรรม สามารถทำประโยชน์แก่สังคม
ส่วนรวม สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อสังคมปัจจุบัน เพราะการศึกษามิใช่เป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้
เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น หากเป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดความคิดและเกิดปัญญาในสิ่งที่จะนำความรู้นั้นๆ ไป
แก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญก้าวหน้า บุคคลที่มีการศึกษาดี จึงหมายถึงบุคคลที่สามารถ
แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นผลสำเร็จ
สถาบันศาสนา เป็นแบบแผนของความเชื่อที่มั่นคงและเป็นแบบแผนของพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง
กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ สถาบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและก่อให้เกิดแบบ
แห่งความประพฤติของมนุษย์
หน้าที่ของสถาบันศาสนา
1. เป็นพื้นฐานของกฎ ศีลธรรม และสร้างจริยธรรมของสังคมและศาสนา เป็นเครื่องกำหนดแนวทางและ
นโยบายทางสังคม
2. เป็นพื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง
3. เป็นเสมือนกลไกสำคัญในการควบคุมทางสังคมเพื่อให้เกิดความประพฤติที่ถูกต้องเพื่อนำไปสู่ความสงบ
สถาบันการปกครอง เป็นสถาบันเก่าแก่เกี่ยวกับการจัดระเบียบ และการใช้อำนาจทางการปกครองของ
แต่ละสังคม
หน้าที่ของสถาบันการปกครอง
1. เพื่อระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล
2. เพื่อคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัย
3. รักษาความสงบเรียบร้อย ส่งเสริมความมั่นคง และสวัสดิการทางสังคม
สถาบันนันทนาการ เป็นสถาบันเกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจ สถาบันนี้มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อประโยน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งในรูปกีฬาและการบันเทิง ทำให้เกิดประเพณีต่างๆ
สถาบันสื่อสารมวลชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าวสารโดยอาศัยภาษาของสังคมเป็นสื่อกลางโดยมีการวางแผน
สำหรับการปฏิบัติไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการรับข่าวสารของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น: