วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

สังคม O-net 1 มนุษย์กับสังคม

มนุษย์กับสังคม
มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในสังคม สัตว์ในสังคมมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. สัตว์โลก ชอบอยู่โดดเดี่ยว ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน
2. สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนอาศัยพึ่งพากันมนุษย์จัดอยู่ในสังคมชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนและแตกต่างจากสัตว์สังคมชนิดอื่นๆ เช่น พวกมดผึ้งปลวก ลิง ช้าง เป็นต้น สิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นและทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง คือ มนุษย์มีวัฒนธรรม ส่วนสัตว์มีสัญชาตญาณ


วัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตหรือแบบแผนของพฤติกรรมในสังคม ซึ่งสมาชิกในสังคมนั้นได้ปฏิบัติถ่ายทอด
สืบกันมาตามแนวความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ความรู้สึก และสิ่งประดิษฐ์เพื่อความเจริญ
งอกงาม หรืออาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม
ในวิถีชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกันได้ เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมมิใช่สิ่งที่ดีงามสำหรับคนทั่วไป แต่ต้องเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม


ลักษณะที่สำคัญของวัฒนธรรม
1. เป็นวิถีทางในการดำเนินชิวิตของมนุษย์
2. เป็นสิ่งที่ได้มาจากการเรียนรู้
3. เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้
4. เป็นสิ่งที่ดีงามของสังคมนั้น
5. เป็นมรดกของสังคม


ประเภทของวัฒนธรรม
โดยทั่วไปวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Anlture)
2. วัฒนธรรมทางจิตใจหรือวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Nomaterial Anlture)
ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 นั้น แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. คติธรรม วัฒนธรรมเกี่ยวกับศาสนา
2. เนติธรรม วัฒนธรรมทางกฎหมาย
3. วัตถุธรรม วัฒนธรรมทางวัตถุ
4. สหธรรม วัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตทั่วๆ ไป


ถ้าเราแบ่งวัฒนธรรมตามขนาดของสังคม วัฒนธรรมจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ วัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อย
วัฒนธรรมหลัก หมายถึง วัฒนธรรมของสังคมใหญ่ สังคมใหญ่เป็นสังคมที่ประกอบด้วยสังคมย่อยๆ
หลายสังคม
วัฒนธรรมย่อย หมายถึง รูปแบบพฤติกรรมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ของ
ตนเอง


ความสำคัญของวัฒนธรรม
1. เป็นสิ่งกำหนดรูปแบบของสถาบันซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละสังคม
2. เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์
3. เป็นเครื่องควบคุมให้สังคมเป็นระเบียบได้
4. เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
หน้าที่ของวัฒนธรรม
1. สามารถสนองความต้องการต่างๆ ทางร่างกายได้ครบถ้วน
2. เพื่อสร้างอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ มาชดเชยขีดจำกัดทางชีววิทยาของมนุษย์ที่ไม่มีพละกำลัง
ความแข็งแกร่งเหมือนสัตว์ ทั้งนี้เพื่อปกป้องชีวิตของตนเองและเพื่อความอยู่รอดของสังคม
3. เป็นเครื่องมือในการควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
นอกจากเรื่องวัฒนธรรมทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์อย่างแท้จริงแล้ว มนุษย์ยังต้องอยู่ในสังคม



สังคม
สังคม หมายถึง กลุ่มคนขนาดใหญ่ที่อยู่รวมกันโดยกลุ่มนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีการจัดระเบียบ
ในการอยู่ร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม นอกจากนี้สมาชิกยังมี
วิถีชีวิตในรูปแบบเดียวกัน มีความผูกพันกัน และมีวัตถุประสงค์ในการเข้ามาอยู่รวมกลุ่มเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน
องค์ประกอบที่สำคัญของสังคม คือ
1. กลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย
2. ความสัมพันธ์ของคนในสังคม
3. มีดินแดนที่เป็นหลักแหล่งแน่นอน
4. มีวิถีทางในการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมร่วมกัน
5. มีความยาวนานในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเรียกว่า เป็นความมั่นคงถาวร


การที่มนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะมนุษย์ต้องการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของตน คือ
- ความต้องการทางชีวภาพ คือ ความต้องการในสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตรอดของมนุษย์ ส่วนมากจะ
คล้ายคลึงกับสัตว์อื่น เช่น ต้องการอากาศ เป็นต้น
- ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการสิ่งต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เช่น
ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
- ความต้องการทางจิตวิทยา เป็นความต้องการทางจิตใจ เช่น ต้องการให้คนรักตน
- ความต้องการทางสังคม คือ การต้องการจะติดต่อกับคนอื่น



สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม (Social institution) หมายถึง วิถีทางปฏิบัติที่มีระเบียบแบบแผน เป็นระบบซึ่งถูกจัดขึ้น
และมีความมั่นคงถาวรเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการตอบสนองความจำเป็นด้านต่างๆ ของสังคมหรืออาจกล่าวได้ว่า
สถาบันสังคม หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของสังคม สำหรับเป็นแนวในการปฏิบัติหรือติดต่อระหว่างกัน
และในการทำหน้าที่สนองความต้องการและความจำเป็นของสังคม กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนนี้มักจัดไว้เป็น
หมวดหมู่ ตามประเภทของความต้องการที่จำเป็นของสังคม ซึ่งสถาบันสังคมที่สำคัญ คือ
1. สถาบันครอบครัว
2. สถาบันการปกครอง
3. สถาบันเศรษฐกิจ
4. สถาบันการศึกษา
5. สถาบันศาสนา
6. สถาบันนันทนาการ
7. สถาบันสื่อสารมวลชน

การที่มนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะมนุษย์ต้องการตอบสนองความต้องการในด้านต่างๆ ของตน คือ
- ความต้องการทางชีวภาพ คือ ความต้องการในสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตรอดของมนุษย์ ส่วนมากจะ
คล้ายคลึงกับสัตว์อื่น เช่น ต้องการอากาศ เป็นต้น
- ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการสิ่งต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เช่น
ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
- ความต้องการทางจิตวิทยา เป็นความต้องการทางจิตใจ เช่น ต้องการให้คนรักตน
- ความต้องการทางสังคม คือ การต้องการจะติดต่อกับคนอื่น


สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม (Social institution) หมายถึง วิถีทางปฏิบัติที่มีระเบียบแบบแผน เป็นระบบซึ่งถูกจัดขึ้น
และมีความมั่นคงถาวรเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการตอบสนองความจำเป็นด้านต่างๆ ของสังคมหรืออาจกล่าวได้ว่า
สถาบันสังคม หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของสังคม สำหรับเป็นแนวในการปฏิบัติหรือติดต่อระหว่างกัน
และในการทำหน้าที่สนองความต้องการและความจำเป็นของสังคม กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนนี้มักจัดไว้เป็น
หมวดหมู่ ตามประเภทของความต้องการที่จำเป็นของสังคม ซึ่งสถาบันสังคมที่สำคัญ คือ
1. สถาบันครอบครัว
2. สถาบันการปกครอง
3. สถาบันเศรษฐกิจ
4. สถาบันการศึกษา
5. สถาบันศาสนา
6. สถาบันนันทนาการ
7. สถาบันสื่อสารมวลชน
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันสังคมที่เก่าแก่และเป็นรากฐานของระบบสังคมทั้งหลายเป็นสถาบันที่มีความ
คงทนที่สุดที่ทุกสังคมมนุษย์จะต้องมีสถาบันนี้
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว
1. สร้างสรรค์สมาชิกใหม่เพื่อการดำรงอยู่ของสังคมเป็นการทดแทนสมาชิกเก่าที่ตายไป
2. บำบัดความต้องการทางเพศ
3. เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโตในสังคม
4. ให้การอบรมสั่งสอนแก่เด็กให้รู้จักระเบียบของสังคม
5. กำหนดสถานภาพแก่สมาชิก
6. ให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิก

สถาบันเศรษฐกิจ เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภค
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
1. บำบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ
2. ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
3. พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ

สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมาย
ที่สำคัญที่จะให้สมาชิกของสังคมมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม มีวัฒนธรรม สามารถทำประโยชน์แก่สังคม
ส่วนรวม สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อสังคมปัจจุบัน เพราะการศึกษามิใช่เป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้
เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น หากเป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดความคิดและเกิดปัญญาในสิ่งที่จะนำความรู้นั้นๆ ไป
แก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญก้าวหน้า บุคคลที่มีการศึกษาดี จึงหมายถึงบุคคลที่สามารถ
แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นผลสำเร็จ
สถาบันศาสนา เป็นแบบแผนของความเชื่อที่มั่นคงและเป็นแบบแผนของพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง
กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ สถาบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและก่อให้เกิดแบบ
แห่งความประพฤติของมนุษย์
หน้าที่ของสถาบันศาสนา
1. เป็นพื้นฐานของกฎ ศีลธรรม และสร้างจริยธรรมของสังคมและศาสนา เป็นเครื่องกำหนดแนวทางและ
นโยบายทางสังคม
2. เป็นพื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง
3. เป็นเสมือนกลไกสำคัญในการควบคุมทางสังคมเพื่อให้เกิดความประพฤติที่ถูกต้องเพื่อนำไปสู่ความสงบ
สถาบันการปกครอง เป็นสถาบันเก่าแก่เกี่ยวกับการจัดระเบียบ และการใช้อำนาจทางการปกครองของ
แต่ละสังคม
หน้าที่ของสถาบันการปกครอง
1. เพื่อระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล
2. เพื่อคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัย
3. รักษาความสงบเรียบร้อย ส่งเสริมความมั่นคง และสวัสดิการทางสังคม
สถาบันนันทนาการ เป็นสถาบันเกี่ยวกับการพักผ่อนหย่อนใจ สถาบันนี้มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อประโยน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งในรูปกีฬาและการบันเทิง ทำให้เกิดประเพณีต่างๆ
สถาบันสื่อสารมวลชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าวสารโดยอาศัยภาษาของสังคมเป็นสื่อกลางโดยมีการวางแผน
สำหรับการปฏิบัติไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการรับข่าวสารของประชาชน

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน คือส่วนแรกนั้นจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ หรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เช่น จอภาพ ซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ส่วนที่สอง เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ส่วนสุดท้ายเรียกว่า พีเพิลแวร์ (Peopleware) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น พนักงานป้อนข้อมูล, นักเขียนโปรแกรม, นักวิเคราะห์ระบบ ทั้งสามส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ 4 หน่วยดังนี้
· หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
· หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
· หน่วยความจำ (Memory Unit)
· หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit)
หน่วยรับข้อมูล
ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน สำหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
· แป้นพิมพ์ (Keyboard)
· เมาส์ (Mouse)
· สแกนเนอร์ (Scanner)
· จอยสติ๊ก (Joystick)
· จอภาพสัมผัส (Touch Screen)
· กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
หน่วยประมวลผลกลาง
ทำหน้าที่ในการประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน
หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุม
หน่วยความจำ
ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย แบ่งออกเป็น หน่วยความจำหลัก - เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยคำจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่ง การแบ่งประเภทหน่วยความจำหลัก ถ้าแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล กล่าวคือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) แต่ถ้าหน่วยความจำเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร ก็เรียกว่า หน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory) แต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทของหน่วยความจำจะแบ่งตามสภาพการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้ เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ และหากเป็นหน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนลงไปได้ ก็เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่นเก็บโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐานของระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอมส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบลบข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตราไวโลเล็ตฉายลงบนผิวซิลิกอน หน่วยความจำประเภทนี้มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ และขณะใช้งานจะมีแผ่นกระดาษทึบปิดทับไว้ เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM)
หน่วยความจำสำรอง - ใช้เป็นส่วนเพิ่มหน่วยความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก โดยปกติแล้วหน่วยความจำสำรองจะมีความจุมากและมีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่า เช่น ฮาร์ดดิสก์, ฟลอบปี้ดิสก์
หน่วยแสดงผลลัพธ์
ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการ คำนวณและประมวลผลในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ สำหรับอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลนั้น ยกตัวอย่างเช่น
- จอภาพ (Monitor)
- เครื่องพิมพ์ (Printer)
- ลำโพง (Speaker)
- พล็อตเตอร์ (Plotter)
2. ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึง คำสั่งหรือชุดของคำสั่ง ซึ่งสามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไร ก็เขียนเป็นคำสั่ง ซึ่งจะต้องสั่งเป็นขั้นเป็นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า โปรแกรม ผู้ที่เขียนโปรแกรมดังกล่าวก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมนั้นจะต้องใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ ซึ่งหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แบบทดสอบคอมพิวเตอร์


เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คำชี้แจง ให้นักเรียนคลิกเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. คอมพิวเตอร์มีบทบาทกับการศึกษาอย่างไร
ก. นำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น ทำสื่อต่างๆ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
ข. ใช้ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ เป็นต้น
ค. ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ เช่นการค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
ง. ถูกทุกข้อ

2. หน่วยใดมีลักษณะการทำงานคล้ายกับสมองของมนุษย์

ก. หน่วยประมวลผล
ข. หน่วยรับข้อมูล
ค. หน่วยความจำ
ง. หน่วยแสดงผล

3. คอมพิวเตอร์ยุคใด ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit) เป็นหลัก

ก. คอมพิวเตอร์ยุคแรก
ข. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
ค. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3์
ง. คอมพิวเตอร์ยุคในยุคปัจจุบัน

4. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า notebook จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด

ก. Super Computer
ข. Mainframe Computer
ค. Mini Computer
ง. Micro Computer

5. ข้อใด เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น

ก. จอภาพ
ข. คีย์บอร์ด
ค. เครื่องพิมพ์
ง. เคส

6. อุปกรณ์ที่ช่วยในการสำรองไฟฟ้าเวลาไฟดับหรือไฟตก เรียกว่าอะไร

ก. Power Supply
ข. Monitor
ค. UPS
ง. Case

7. หน่วยความจำในข้อใด มีความจุมากที่สุด

ก. SDRAM
ข. Hard Disk
ค. CD-ROM Disk
ง. Floppy Disk

8. อุปกรณ์ในข้อใด ถือว่าเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง

ก. เมาส์
ข. คีย์บอร์ด
ค. เครื่องพิมพ์
ง. สายไฟ





9. ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เรียกว่าอะไร

ก. ซอฟต์แวร์
ข. ฮาร์ดแวร์
ค. พีเพิลแวร์
ง. ระเบียบวิธปฏิบัติ

10. การต่อสัญญาณภาพเข้าจอคอมพิวเตอร์ ต้องต่อกับพอร์ตใด

ก. USB Port
ข. Pararell Port
ค. VGA Por
ง. Serial Port